New Detail
นวัตกรรมการวัดพื้นผิว 3D ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ Conoscopic Holography
บริษัทโฟโทนิคศ์ ไซเอ็นซ์ จำกัด ได้ร่วมกับบริษัท Optical Metrology.Ltd หนึ่งในกลุ่มบริษัท OPHIR Photonics และ Newport Company ได้จัดการบรรยายและการสาธิต “นวัตกรรมการวัดพื้นผิว 3D ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ Conoscopic Holography” ซึ่งเป็นการวัดโดยใช้การแทรกสอดของแสงกับวัตถุ เป็นการวัดแบบใหม่ที่มีความแตกต่างจากระบบทั่วไปแบบ Triangulation ซึ่งมีปัญหาในการวัดชิ้นงานที่มีจุดอับที่ไม่สามารถทำได้ ดังรูปที่แสดงต่อไปนี้
ภาพเปรียบเทียบการวัดแบบทั่วไป Triangulation และการวัดแบบแทรกสอดของแสง Conoscopic Holography
งานจัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม 2561 โดยแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ เวลา 8.30-12.00 น. และ 13.00-16.30 น. (รอบละ 15 ที่นั่งเท่านั้น) ณ บริษัทโฟโทนิคศ์ ไซเอ็นซ์ จำกัด (สำนักงานใหญ่) ท่านสามารถนำชิ้นงานมาร่วมทดสอบ ได้ฟรี โดยส่งรายชื่อลงทะเบียนได้ที่ marketing@photonics-science.com, เบอร์โทรสาร: 02-172-8579 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวรุณรัตน์ 02-172-8571-8 ต่อ39 (ในการเข้าร่วมการรับฟังการบรรยาย ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น)
- นำไปติดตั้งการใช้งานในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่องหรือแบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถตรวจสอบงานดี/เสียได้ทันที
- ครอบคลุมมุมวัดของพื้นผิว ได้มากกว่าถึง ± 85 องศา เนื่องจากเป็นวิธีการส่องแสงเลเซอร์วิถีตรงกับวัตถุ จึงทำให้วัดลักษณะพื้นผิวภายในรูได้ และมีสัญญาณรบกวนที่ต่ำมาก ทำให้รับภาพได้ดี
- วัดระยะได้อย่างละเอียด ไม่หรือน้อยกว่า 1 ไมครอนเพียงแค่การปรับเลนส์
- วัดได้อย่างรวดเร็ว ถึง 10,000 จุดต่อวินาที
- ใช้วัดระยะแบบ 2D ได้ เช่นการวัดตำแหน่ง XY ,การวัดระยะหรือตำแหน่งของจุดศูนย์กลางของจุด 2 จุด ,การวัดขนาดวงกลม,การวัดรัศมีวงกลม,การวัดความลึกและความกว้างของร่อง และการวัดระยะความสูงของพื้นผิว
- วัดบนพื้นผิวทั้งที่มีการสะท้อนแสงและไม่สะท้อนแสงหรือวัดบบพื้นผิวแบบแสงส่องผ่านได้
- สามารถเลือกรุ่นการวัดแบบเส้นเลเซอร์สแกน หรือเลือกหัวที่วัดแบบช่องหรือรูเล็กๆได้ (periscope)
- มี Software ให้เลือกใช้หลายแบบ อาทิเช่น แบบ web based , แบบ Software Development Kit (SDK) คือสามารถนำ Software ไปพัฒนาต่อได้ และยังมี Option ของ Software อาทิเช่น แบบ Software ที่นำข้อมูลมาใช้วัดวิเคราะห์ได้ทันที หรือ แบบใช้วัดสร้างและวิเคราะห์พื้นผิวแบบ 3 D เป็นต้น
การประยุกต์ใช้งาน นวัตกรรมการวัดพื้นผิว 3D ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ Conoscopic Holography
- ใช้วัดขนาด , ความลึกและมิติของผิวด้านในรูเกลียว ของท่อลำเลียงของเหลวและก๊าซ อันได้แก่ ระยะห่างของเกลียว , มุมเอียงของเกลียว และค่า Radius ของเกลียวใน
- ใช้วัดความลึก ความกว้าง ความเอียง ของรู ช่อง ร่อง ของชิ้นงานแมชชีนนิ่งที่มีความละเอียดสูง
- ใช้สำหรับงาน QC ผิวและขนาดของรู ปุ่ม ช่อง รูปร่างต่าง ๆบนแม่พิมพ์ที่ผลิตขึ้นจริง เพื่อเทียบกับแบบ CAD บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญกับงาน QC ดังกล่าว อาทิเช่น ใบกังหันของเครื่องรถยนต์ เครื่องบิน และชิ้นส่วนในห้องเกียร์ เป็นต้น
- ใช้วัดความหนาของแผ่นฟิล์มใส
- (https://www.youtube.com/watch?v=68QuY3fS7OY&list=UUHFAuImD6breWusjfBDPdlw&index=14 )
- ใช้ทำงานที่ต้องการหาออโต้โฟกัสในระบบต่าง ๆ อันได้แก่ สำหรับ เครื่องแกะสลักเลเซอร์ เครื่องเชื่อมเลเซอร์ เครื่องตัดเลเซอร์ เป็นต้น (https://www.youtube.com/watch?v=7te-xwwP9PY)
- ใช้ในการวัดริ้วรอย ขูด ขีดข่วน รอยถลอกของกระจกที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนที่มีความละเอียด ปราณีตสูงและมักจะมีสารเคลือบพิเศษ อันได้แก่ หน้าจอโทรศัพท์ทุกรุ่น ,หน้าจอกล้อง ,หน้าจอโทรทัศน์ เป็นต้น
- (https://www.youtube.com/watch?v=_JOFGJDrGLI )
- ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพของยางที่ผลิต เพื่อทราบความสมบูรณ์ของยางเทียบกับ Spec ไม่ว่าจะเป็นด้านความลึก ความกว้าง มุมของร่องดอกยาง ,ร่องรีดน้ำ และยังใช้วัดความคงทนของยาง เพื่อหาอัตราการสึกกร่อนเทียบกับระยะการใช้งานของยางได้ (Link : https://www.youtube.com/watch?v=4diDIibc-PIX)
เวลา | หัวข้อ |
08:30 - 08:45 น. | ลงทะเบียน – รอบเช้า |
09:00 - 10:00 น. |
เปิดการบรรยาย “นวัตกรรมการวัดพื้นผิว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ Conoscopic Holography”
พร้อมตอบข้อสงสัย
|
10:00 - 10:10 น. | เบรค |
10:10 - 12:00 น. |
เริ่มสาธิตการใช้ “Optimet รุ่น Smart Sensor ConoPoint-10”
ร่วมทดสอบชิ้นงานจริงของผู้เข้ารับฟังคำบรรยาย
|
รอบบ่าย 13:00 - 16:30 น.
เวลา | หัวข้อ |
13:00 - 13:15 น. | ลงทะเบียน – รอบบ่าย |
13:15 - 14:15 น. |
เปิดการบรรยาย “นวัตกรรมการวัดพื้นผิว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ Conoscopic Holography”
พร้อมตอบข้อสงสัย
|
14:15 - 14:30 น. | เบรค |
14:30 - 16:30 น. |
เริ่มสาธิตการใช้ “Optimet รุ่น Smart Sensor ConoPoint-10”
ร่วมทดสอบชิ้นงานจริงของผู้เข้ารับฟังคำบรรยาย
|
- วิศวกร หรือผู้เกี่ยวข้อง กับงานตรวจสอบพื้นผิวชิ้นงานแมชชีนนิ่ง
- หน่วยงานห้องปฎิบัติการ ที่ทำการตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ พื้นผิวชิ้นงาน 3 มิติ
- หน่วยงานที่ทำการออกแบบ และผลิตต้นแบบ โมเดล
- หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับ การผลิตชิ้นงาน ตรวจสอบ หรือต้องมีการควบคุมขนาด และมิติ ของผิวชิ้นงาน
- บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจใน นวัตกรรมการวัดพื้นผิว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แบบ Conoscopic Holography ซึ่งเป็นการวัดโดยใช้การแทรกสอดของแสงเลเซอร์กับวัตถุ