A
rticles


กรณี C คือการทำความสะอาดที่ใช้กับคราบติดสีขุ่น รอยฝ้า น้ำมันเป็นบริเวณกว้างที่สามารถมองคราบบนพื้นผิวเลนส์ ที่มีอายุการใช้งานปานกลาง

 

วิธีการทำความสะอาด

1.ควรเริ่มต้นด้วยวิธีการทำความสะอาดแบบกรณี A ก่อนทุกครั้ง (สามารถดูขั้นตอนการทำความสะอาดแบบกรณี A ได้ที่ บทความ เรื่อง การทำความสะอาด และวิธีการดูแลรักษาเลนส์ Co2 ตอนที่ 2 ฝุ่นละออง เขม่า หรืออนุภาคขนาดเล็กบนพื้นผิว)  หากพบว่ายังไม่สะอาด ควรทำตามขั้นตอนดังนี้

2.วางเลนส์หรือกระจกบนแท่นวาง จากนั้นใช้กระดาษเช็ดเลนส์, ก้านพลาสติกที่พันปลายโฟมหรือสำลีพิเศษ ที่มีลักษณะนุ่มและสะอาด (ชื่อทางการค้า คือ Micro Absorbond Swab ,  Cotton Swab หรือ Cotton Ball ซึ่งเป็นสำลีหรือก้านพลาสติกสำหรับใช้ในงานทำความสะอาดเลนส์โดยเฉพาะ) หยดน้ำยาที่มีส่วนผสมจากกรดน้ำส้มสายชู ที่มีความเข้มข้น 6% (Acetic Acid) คุณภาพเกรดความบริสุทธิ์  99.96% ที่ไม่มีฝุ่นหรือสารอื่นเจือปน ลงบนกระดาษเช็ดเลนส์, ก้านพลาสติกที่พันปลายโฟมหรือสำลีพิเศษ  ให้เปียกชุ่มตลอดเวลา 

 

คำเตือน
ห้าม นำน้ำส้มสายชู สำหรับทำอาหาร หรือน้ำส้มสายชูทั่วไปมาใช้งาน
ห้าม นำกระดาษเช็ดเลนส์, ก้านพลาสติกที่พันปลายโฟมหรือสำลีพิเศษที่ไม่ได้หยดน้ำยามาเช็คเลนส์ เพราะอาจเกิดรอยขีดข่วนบนเลนส์
ห้าม นำสำลีหรือก้านพลาสติกที่ใช้สำหรับงานพยาบาล, ที่ทำความสะอาดหู หรือ อื่นๆ มาใช้ เพราะอาจทำให้ทิ่ทิ้งสารตกค้างบนพื้นผิว และเกิดรอยขีดข่วนบนเลนส์
 

 

 

3.ทำการเช็ดพื้นผิวอย่างช้าๆ ตรงบริเวณที่เปื้อน ให้เช็ดวนไปมาคล้ายตัว “ S ” เพื่อต้องการให้เกิดการทำปฏิกริยาของน้ำยากับสิ่งสกปรกเอง มิใช่เกิดจาก การขัดพื้นผิว

 

คำเตือน
ห้าม ขัดพื้นผิว เพราะการขัดพื้นผิวอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อฟิล์มที่เคลือบบนผิวเลนส์หรือกระจกได้
 
4.ถ้าหากพื้นผิวยังคงมีรอยหลงเหลืออยู่ให้เช็ดโดยเคลื่อนที่ช้าลง ระวัง อย่าให้กระดาษเช็คเลนส์, ก้านพลาสติกที่พันปลายโฟมหรือสำลีพิเศษแห้ง เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้วจะมองไม่เห็นคราบหลงเหลืออยู่บนผิวเลนส์เปรียบเสมือนเลนส์ใหม่
5.ทำความสะอาดรอบสุดท้ายด้วยขั้นตอนการทำความสะอาด กรณี A อีกครั้ง